คลังเก็บหมวดหมู่: เนื้อหาประกอบการเรียนรู้

ตัวอย่างการออกแบบหนังสือคู่มือ


example

นักศึกษาสามารถเข้าไปดูตัวอย่างการออกแบบคู่มือได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้นะคะ

อาจารย์จะทยอยนำมาลงให้เพิ่มเติมนะคะ….ไฟล์นี้ save as pdf. file ค่ะ

คู่มือการใช้ EDMODO-Teacher

 

Sumai  Binbai

CTE, PNRU.

รูปแบบรายงานการออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


วันนี้อาจารย์จัดทำหัวข้อสำหรับการเขียนรายงานในแต่ละบทไว้เป็นตัวอย่างให้เรียบร้อยแล้วนะคะ

ให้นักศึกษานำไปใช้ในการจัดทำรายงานประกอบการออกแบบและพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้เลยค่ะ

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF ที่นี่ค่ะ : การเขียนรายงานประกอบการออกแบบและพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การวิเคราะห์และการออกแบบสื่อ CAI


นักศึกษาสามารถดาวน์โหลดเอกสารไปอ่านประกอบการออกแบบและพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากไฟล์ที่แนบนะคะ

ไฟล์ PDF: การออกแบบและพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สำหรับเอกสารการพัฒนาและการประเมินผล อาจารย์จะอัพโหลดหลังจากนี้นะคะ

เพิ่มไฟล์ PowerPoint : การวิเคราะห์และออกแบบสื่อ CAI-part1

 

อ.ดร.สุไม  บิลไบ

PowerPoint สื่อ CAI


ดาวน์โหลดได้จากไฟล์นี้นะคะ

PowerPoint File: การออกแบบและพัฒนาสื่อ CAI

PDF File: การออกแบบและพัฒนาสื่อ CAI

 

Enjoy learning.

ประเภทของสื่อการเรียนรู้ (Learning Media)


สื่อการเรียนรู้ มีความหมายสำคัญกับการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลความรู้ ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และเป็นตัวกลางในการกระจายความรู้สู่ผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้           และทำกิจกรรมการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

 การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนรู้
 
  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้จำแนกประเภทของสื่อการเรียนรู้ออกตามลักษณะของสื่อได้เป็น 3 ประเภท คือ
 1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัวหนังสือที่     เป็น ตัวเขียน หรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์  นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ
 2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี      ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ต  เพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
 3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีความสำคัญไม่   ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่ 
      3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและ ประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น 
      3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้       ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
      3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริมประสบ   การณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของ    ผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น 
      3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่มจำลอง แผนภูมิ     แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลอง      วิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น

ที่มา: http://www.st.ac.th/av/media_kind.htm

สมรรถนะ ทักษะและบทบาทครูไทยศตวรรษที่ 21


บทความนี้เขียนขึ้นมาเพื่อสรุปบทเรียนและใช้ประกอบการเรียนในเนื้อหา

 “บทบาทครูไทยในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและศตวรรษที่ 21” 

ดาวน์โหลดฉบับ PDF File ที่นี่: บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21

 

สมรรถนะ ทักษะและบทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21

ดร.สุไม  บิลไบ

วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

 

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็วทั้งด้านการแพทย์  การเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสารคือ การเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง จากเดิมสังคมไทยเป็นสังคมแบบเรียบง่าย มีวิถีชีวิตที่แตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างชนบทและในเมือง อันเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจ แต่ทุกวันนี้กลายเป็นสังคมแห่งการแก่งแย่งแข่งขัน เน้นความสะดวกสบาย และรวดเร็ว มีการรับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง และมีการส่งต่อแบ่งปันข้อมูลกันผ่านช่องทางที่หลากหลายจนกลายเป็นสังคมนิยมข้อมูล สิ่งเหล่านี้ทำให้ความแตกต่างระหว่างชนบทและเมืองน้อยลง ซึ่งน่าจะเป็นผลดีกลับส่งผลทางลบต่อสังคมของประเทศโดยภาพรวม

วัฒนธรรมของคนไทยเปลี่ยนจากการดำรงชีวิตแบบเดิม เน้นการนำเสนอและสร้างข้อมูลข่าวสารเพื่อแบ่งปันกันผ่านโลกออนไลน์ทั้งเฟซบุค (Facebook) ไลน์ (Line) อินสตาแกรม (Instagram) เป็นต้น ทำให้สังคมเสมือน มีความสำคัญกับคนไทยมากกว่าสังคมที่แท้จริง คนส่วนใหญ่ยึดติดกับการติดตามข้อมูลทางออนไลน์มากกว่าจะเสียเวลามานั่งอ่านหนังสือ สนใจฟังความรู้ หรือเลือกใช้ข้อมูลที่มีคนอื่นวิเคราะห์ สังเคราะห์มาให้แล้วมากกว่าการมานั่งวิเคราะห์ สังเคราะห์เองซึ่งข้อมูลเหล่านั้นมีทั้งถูกและผิด วัฒนธรรมการแบ่งปันข้อมูลผ่านทางออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารมากมายมหาศาลโดยไม่มีการไตร่ตรองหรือกลั่นกรองข้อมูลนั้นก่อนนำไปใช้ทำให้เกิดอันตรายและเกิดผลกระทบอันร้ายแรงต่อสังคมและผู้คนที่เกี่ยวข้องตามมา

จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อวัฒนธรรมการเรียนการสอนก็เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ผู้เรียนยุคใหม่ไม่ชอบเรียนในห้องเรียนที่มีครูคอยจ้ำชี้จ้ำไช        ไม่ชอบวิธีการเรียนแบบเดิม ๆ ไม่ชอบนั่งฟังครูสอนเพียงอย่างเดียว เพราะผู้เรียนคิดว่าตนเองสามารถค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้เพียงแค่ใช้อินเตอร์เน็ตก็ได้รับความรู้มากมาย แต่การได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อตนเองอย่างแท้จริง มิใช่ค้นหาและทำการคัดลอกมาใช้ทันที แต่จากเสียงสะท้อนมากมายจากครูผู้สอน พบว่า ผู้เรียนใช้วิธีการค้นหาและคัดลอกงานหรือข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาจัดทำรายงานส่ง ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงมากกว่าการเรียนรู้  เป็นต้น จากการเปลี่ยนแปลงและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดมาจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการสื่อสารทำให้นักการศึกษาหันมาให้ความสนใจและได้กำหนดทักษะของผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ดังนี้

  1. ทักษะการคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking) ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ สามารถประเมินผลและประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศและความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุมีผล
  2. ทักษะการทำงานร่วมกัน (Collaboration Skill) ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความเป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม สามารถแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ทำให้งานของส่วนรวมประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับเพื่อน ครูผู้สอน และบุคคล อื่น ๆ ในการทำงานร่วมกัน การสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ความคิดเห็นระหว่างกันได้ รวมถึงสามารถอธิบาย และนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้ผู้อื่นรับรู้โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและสื่อสารได้อย่างชัดเจน เข้าใจได้ง่าย
  4. ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ในการเรียนรู้ การประยุกต์ความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงสามารถสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ เทคนิค วิธีการ และ/หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้
  5. ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Skill) ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยน และการแบ่งปันความรู้ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถคัดกรองข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินข้อมูลได้อย่างเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  6. ทักษะทางอาชีพและการใช้ชีวิต (Career Skill & Life Skill) ได้แก่
  • รู้จักปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงทั้งบทบาทหน้าที่ บริบท สภาพแวดล้อม และสถานภาพที่ได้รับ
  • มีความยืดหยุ่นในการทำงานและการดำรงชีวิต
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นผู้นำ
  • มีความเป็นตัวของตัวเองที่มีศักยภาพและความสามารถหลากหลาย สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ และจัดสรรแบ่งเวลาได้เหมาะสมระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต รวมถึงสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ในที่ทำงานและในการใช้ชีวิตได้อย่างมีเหตุมีผล
  • ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีภาวะผู้นำ และมีความรับผิดชอบ
  • ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม จรรยา และยึดถือจรรยาบรรณในวิชาชีพของตนอย่างเคร่งครัด

  อ่านเพิ่มเติม สมรรถนะ ทักษะและบทบาทครูไทยศตวรรษที่ 21

แหล่งเรียนรู้-เครือข่ายการเรียนรู้


สำหรับตอนนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับแหลงเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนที่คุณครูควรรู้ อาจารย์ได้แนบไฟล์ PDF ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ซึ่งเป็นเอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. ซึ่งมีประโยชน์มาก ๆ ค่ะ

อีกไฟล์ที่แนบจะเป็น PowerPoint ซึ่งอาจารย์ได้จัดทำขึ้น ลองเข้าไปศึกษาดูนะคะ

ปอลิง….ข้อสอบมีในทุกเรื่องที่นำเสนอนะคะ อย่าลืมอ่านล่ะ!!!

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF ที่นี่ เครือข่ายการเรียนรู้

ดาวน์โหลดPowerPointที่นี่ แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้

ที่สำคัญกว่าอื่นใด…คืออ่านให้เข้าใจจึงจะทำข้อสอบได้นะค้าาาาา

 

อ.สุไม  บิลไบ

มารยาทและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


มารยาทและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ภาพนิ่ง2 ภาพนิ่ง3 ภาพนิ่ง4 ภาพนิ่ง5 ภาพนิ่ง6 ภาพนิ่ง7 ภาพนิ่ง8 ภาพนิ่ง9 ภาพนิ่ง10 ภาพนิ่ง11 ภาพนิ่ง12 ภาพนิ่ง13 ภาพนิ่ง14 ภาพนิ่ง15 ภาพนิ่ง16 ภาพนิ่ง17 ภาพนิ่ง18 ภาพนิ่ง19 ภาพนิ่ง20

หรือจะดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่ค่ะ  มารยาทการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ